ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
Download เอกสารรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2)
สถานที่จัดการเรียนการสอน
ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) (เทคโนโลยีชีวภาพ)
Doctor of Philosophy (Ph.D.) (Biotechnology)
การอนุมัติหลักสูตร สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 9/2565 วันที่ 21 เดือนกันยายน พ.ศ. 2565
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)
PLO1 ปฏิบัติตามแนวทางจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและการทำวิจัย PLO2 ปฏิบัติตนตามหลักการความเป็น ผู้นำ และผู้ตามในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของงานได้ PLO3 ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการ และผลงานวิจัยในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ PLO4 เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสืบค้น และศึกษาค้นคว้า ความรู้ที่เป็นปัจจุบันในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพได้อย่างเหมาะสม PLO5 แสดงความเห็นในเนื้อหาสาระ หลักและทฤษฎีของสาขาวิชาในเชิงลึกได้ PLO6 บูรณาการองค์ความรู้ และทักษะทางเทคโนโลยีชีวภาพ ในการทำวิจัย และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนในการทำวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ PLO7 สร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ตอบโจทย์วิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพได้ |
คุณสมบัติการรับเข้าเรียน
แผนการศึกษา | เกณฑ์การพิจารณา |
แบบ 1.1 | หลักสูตรระดับมหาบัณฑิตที่จบการศึกษาผลการสอบภาษาอังกฤษเทียบเคียงได้ตามเกณฑ์ CEFRการสัมภาษณ์และสอบข้อเขียน |
แบบ 2.2 | หลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิตที่จบการศึกษาผลการเรียนผลการสอบภาษาอังกฤษเทียบเคียงได้ตามเกณฑ์ CEFRการสัมภาษณ์และสอบข้อเขียน |
โครงสร้างของหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1 | จำนวนหน่วยกิต (หน่วยกิต) |
วิชาสัมมนา (ไม่นับหน่วยกิต) วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร มีค่าเทียบเท่า | 3 48 48 |
แบบ 2.2 | จำนวนหน่วยกิต (หน่วยกิต) |
วิชาบังคับ วิชาสัมมนา (ไม่นับหน่วยกิต) วิชาเลือก วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร | 7 3 จำนวนไม่น้อยกว่า 17 48 จำนวนไม่น้อยกว่า 72 |
ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning Skills, LLLs) ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนในหลักสูตร
ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (LLLs) | คำอธิบาย |
ทักษะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (Self-directed learning skills) | ความสามารถที่ต้องรับผิดชอบทั้งในการคิดริเริ่ม การกำหนดเป้าหมาย การวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง |
ทักษะการทำงานเป็นทีมและ การมีมนุษยสัมพันธ์ (Team work and people skills) | ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น โดยสามารถเข้าใจคนอื่นและให้อภัยคนอื่นเมื่อมีความจำเป็น และสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมกับผู้อื่นในวัตถุประสงค์เฉพาะได้ |
ทักษะการสื่อสาร (Communication skills) | มีความสามารถในการสื่อสารข้อมูลและแนวความคิด ทั้งสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ |
ทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy skills) | ความสามารถในการค้นหา การเข้าถึง การประเมิน และการนำสารสนเทศไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology skills) | ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและการค้นคว้าข้อมูลที่ตนเองต้องการ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ |
ทักษะการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการคิดเชิงวิพากษ์ (Analysis, synthesis and critical thinking skills) | ความสามารถในการตรวจสอบ การจำแนกแยกแยะ และการประเมินผลข้อมูล รวมทั้งสามารถนำข้อมูลหรือความรู้ที่ได้มากำหนดเป็นประเด็นวิกฤตและมุมมองที่แตกต่างและขัดแย้งเพื่อนำเสนอมุมมองใหม่ที่ดีกว่าเดิมได้ |
ทักษะการคิดคำนวณ (Numeracy skills) | ความสามารถในการทำความเข้าใจกับตัวเลขและสถิติในระดับพื้นฐานโดยสามารถอ่านและเขียนได้ |
ทักษะการคิดแก้ปัญหา (Problem solving thinking skills) | ความสามารถในการระบุถึงปัญหาและสิ่งที่ตนเองไม่รู้ได้ และสามารถแก้ไขปัญหาในสิ่งที่ีเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
ทักษะการคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ (Initiative and creative skills) | ความสามารถในการทำให้เกิดผลงานใหม่ที่แตกต่างไปจากความคิดหรือกิจกรรมของคนอื่น มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตัวเอง และนำผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้นั้นไปแก้ไขและพัฒนาให้สอดคล้องแก่ตัวเราและองค์กรที่อยู่ได้ |