ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
Download เอกสารรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2)
สถานที่จัดการเรียนการสอน ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) (เทคโนโลยีชีวภาพ)
Master of Science (M.Sc.) (Biotechnology)
การอนุมัติหลักสูตร
สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 9/2565 วันที่ 21 เดือนกันยายน พ.ศ. 2565
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)
PLO1 ปฏิบัติตนและปฏิบัติงานโดยยึดหลักจริยธรรมของนักวิจัย PLO2 ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน PLO3 แสดงความคิดเห็นและนำเสนอผลงานทางวิชาการเพื่อสื่อสารความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ โดยใช้ทักษะภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ PLO4 วิเคราะห์ประเด็นปัญหาข้อเสนอแนะทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง PLO5 สืบค้นงานวิจัยที่เป็นปัจจุบันได้อย่างมีคุณภาพ PLO6 เชื่อมโยงองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพกับงานวิจัยได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ PLO7 สร้างสรรค์ผลงานวิจัยนวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ |
คุณสมบัติการรับเข้าเรียน
แผนการศึกษา | เกณฑ์การพิจารณา |
แผน ก แบบ ก 1 | หลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิตที่จบการศึกษาเกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) การสัมภาษณ์และสอบข้อเขียน |
แผน ก แบบ ก 2 | หลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิตที่จบการศึกษาการสัมภาษณ์ และสอบข้อเขียน |
แผน ข | หลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิตที่จบการศึกษา หรือประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องการสัมภาษณ์และสอบข้อเขียน |
โครงสร้างของหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก 1 | จำนวนหน่วยกิต (หน่วยกิต) |
วิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต) วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร มีค่าเทียบเท่า | 6 36 36 |
แผน ก แบบ ก 2 | จำนวนหน่วยกิต (หน่วยกิต) |
วิชาบังคับ วิชาเลือก วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร | 9 จำนวนไม่น้อยกว่า 9 18 จำนวนไม่น้อยกว่า 36 |
แผน ข | จำนวนหน่วยกิต (หน่วยกิต) |
วิชาบังคับ วิชาเลือก การค้นคว้าอิสระ (มีค่าเทียบเท่า) รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร และสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ | 9 จำนวนไม่น้อยกว่า 21 6 จำนวนไม่น้อยกว่า 36 |
ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning Skills, LLLs) ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนในหลักสูตร
ทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy skills) ผ่านการอบรมเรียนรู้สารสนเทศ การใช้แหล่งข้อมูลและฐานข้อมูลต่าง ๆ เพื่อการสืบค้นข้อมูล จัดทำบรรณานุกรม รวมถึงการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน โดยสามารถคัดกรองข้อมูลและใช้เครื่องมือสารสนเทศได้อย่างมีคุณภาพและยึดหลักจริยธรรมของนักวิจัย
ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ (English Communication) ผ่านโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านต่าง ๆ การนำเสนอผลงานวิชาการ การซักถาม การตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็นเพื่อสื่อสารความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ