Back to top

image here
หน้าแรก - ผลงานอาจารย์
การเข้าร่วมการแข่งขัน Startup Thailand League 2019

การเข้าร่วมการแข่งขัน Startup Thailand League 2019...

ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าที่ได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมการแข่งขันStartup Thailand League 2019 ทีม I’Rice (ข้าวคุณภาพจากโรงสีส่งตรงถึงร้านอาหารไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางด้วยระบบ Auto-Demand ผ่าน Rice storage tank IOT) ทีม I’Rice มีสมาชิกทีม ดังนี้1. นายวชิรโชติ ชูตะกูล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีฯสาขาอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมฯ2. นายศุภวิชญ์ อินทนาคมคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีฯสาขาอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมฯ 3. นางสาวช่อผกา สอนทาภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์4. นายธนิศร กองสังข์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีฯสาขาอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมฯ 5. นายธนา ภาวนาธรรมสุข IE ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จากทีมการแข่งขันทั้งหมด 146 ทีม ได้รับเงินรางวัลเพิ่มเติม 20,000 บาท ในการแข่งขันSTARTUP THAILAND League 2019ระดับภูมิภาค ภาคเหนือ นอกจากนี้ยังมีทีมนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ผ่านการพิจารณาและได้รับทุนสนับสนุนพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์มูลค่าทีมละ 25,000 บาท ในการแข่งขัน Startup ระดับประเทศ Startup Thailand League 2019 จำนวน 2 ทีม คือ 1. ทีม I’Rice (ข้าวคุณภาพจากโรงสีส่งตรงถึงร้านอาหารไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางด้วยระบบ Auto-Demand ผ่าน Rice storage tank IOT) 2. ทีม Smart contact (อุปกรณ์เชื่อมต่ออัจฉริยะ คู่หูเกษตรกรไทย ก้าวไปด้วยหัวใจ smart farm connect to the future ไปกับเรา smart contact) ทีม Smart contact มีสมาชิกทีม ดังต่อไปนี้1. นายรณพร บุญรัตน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีฯสาขาอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมฯ 2. นายวิรชัย เขื่อนแก้วคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีฯสาขาอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมฯ 3. นายปวีณวัช นาถประชาคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีฯสาขาอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมฯ4. นายธนภัทร โพธินาม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีฯ สาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ 5. ธนกฤต ทองขำคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในวันที่ 11 - 12 พฤษภาคม 2562 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่

ได้รับการคัดเลือกจากสำนักพิมพ์ RSC ม

ได้รับการคัดเลือกจากสำนักพิมพ์ RSC ม...

ขอแสดงความยินดีกับ ดร.อภิวัฒน์ ด่านแก้ว (ศิษย์เก่า ระดับปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุศรินทร์ เฆษะปะบุตร (ศิษย์เก่า ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุ และอาจารย์สังกัดภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ) พร้อมคณะวิจัยจากประเทศเดนมาร์ก สหรัฐอเมริกา และประเทศบราซิล ที่ผลงานวิจัย เรื่อง “Highly porous Ce–W–TiO2 free-standing electrospun catalytic membranes for efficient de-NOx via ammonia selective catalytic reduction” ได้รับการคัดเลือกจากสำนักพิมพ์ RSC มาจัด “Themed collection: Environmental Science: Nano Recent HOT Articles”

ผลงานด้านการวิจัย

ผลงานด้านการวิจัย ...

        อาจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ปริญญาโท M.Sc. (Chemical Engineering) จาก University of Wales, U.K. และระดับปริญญาเอก Dr.-Ing.(Chemical Engineering) จาก Friedrich-Alexander Universitaet- Erlangen-Nuernberg, Germany   ประสบการณ์ทำงานวิจัย       - การเพิ่มมูลค่าวัสดุชีวภาพอนินทรีย์ธรรมชาติ โดยเฉพาะซิลิกามีทั้งที่นำมาจากธรรมชาติผ่านกรรมวิธีการสกัดที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเป็นวัสดุที่มีรูพรุนระดับเมโซพอร์ (mesoporous materials) เพื่อไปใช้เป็นวัสดุนำส่งยา และเก็บกักสารหอม โดยได้รับการสนับสนุนจาก สกว. และสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากร ในงานวิจัย ได้มีการใช้ขี้เถ้า แกลบซึ่งเป็นแหล่งเก็บซิลิกาธรรมชาติเป็นสารตั้งต้นในการสกัดผ่านปฏิกิริยาทางเคมีที่ใช้สารเคมีที่ไม่อันตรายและบริสุทธ์ิสูง ขึ้นโดยสามารถทำให้ซิลิกาที่ได้มีสมบัติความพรุนตัวในระดับเมโซพอร์ซึ่งมีขนาดรูพรุน 7-28 นาโนเมตรและพื้นผิวจำเพาะ มากที่สุด 200 ตารางเมตรต่อกรัม นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงสมบัติทางเคมีของซิลิกาเพื่อให้ได้สมบัติทางเคมีที่ต้องการ กระบวนการเก็บกักยาที่ใช้เป็นกระบวนการดูดซับภายใต้สภาวะของไหลวิกฤตคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีข้อดีคือไม่ทำให้ยา เสียสภาพและไม่ใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับสารประเภทอื่นที่มีความสามารถในการละลายในของไหล วิกฤตได้ เพื่อเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติทางกายภาพและเคมีของวัสดุนำส่งและยา การศึกษาจลนพลศาสตร์ ก็เป็นสิ่งสำคัญเพื่อนำไปพัฒนาตัวนำส่งต่อไป การศึกษายังรวมไปถึงสารหอม (fragrance) และอะโรมา (aroma) และ การสังเคราะห์วัสดุซิลิกาจากการวิธีโซล-เจลด้วย       - การขึ้นรูปวัสดุโครงร่าง (scaffold) สำหรับใช้ในวิศวกรรมเนื้อเยื่อ ในงานวิจัยได้ทำการพัฒนาเทคนิคในการขึ้น รูปวัสดุโครงร่างซึ่งทำมาจากพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายทางชีวภาพ เช่น พอลิแลคติคแอซิด (PLA) เทคนิคที่พัฒนาคืออัลตรา โซนิคอะตอมไมเซชันซึ่งเป็นเทคนิคที่มีใช้ในอุตสาหกรรมอยู่แล้วแต่ทำการดัดแปลงและปรับสูตรเพื่อทำให้พอลิเมอร์มีโครงร่าง    - พลาสติกชีวภาพ เนื่องจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการหมดไปของทรัพยาการนำ้มันทำให้มีการนำวัสดุที่ย่อยสลายทางชีวภาพมาใช้แทนที่พลาสติกที่มีอยู่ในท้องตลาดที่ใช้วัตถุดิบจากปิโตรเลียมและไม่สามารถย่อยสลายในธรรมชาติได้ในงานวิจัยได้มีการศึกษาและพัฒนาคอมพาวด์ดิ้งพอลิเมอร์ชีวภาพทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมโดยมุ่งเน้นในการนำไปใช้จริงในอุตสาหกรรม ตัวอย่างที่กำลังดำเนินการ ได้แก่ การพัฒนาถุงพลาสติกและหลอดที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้

โครงการ Start Up ที่ได้รับรางวัลภายในงาน

โครงการ Start Up ที่ได้รับรางวัลภายในงาน...

ขอแสดงความยินดีกับ ทีมนักศึกษาจากโครงการ Start Up ได้รับรางวัลภายในงาน “อินโนเวชั่น ไทยแลนด์ เอ็กซ์โป 2019” จำนวน 2 ทีม ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ นวัตกรรมแห่งประเทศไทยครั้งที่ 19 (พ.ศ.2562) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทีม bio-plast mushroom bags (ถุงเพาะเชื้อเห็ดย่อยสลายได้) สมาชิกภายในทีม คือ 1.นายพร้อมพล พวงประโคน 2.นายมนตรี อุดมฉวี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ซึ่งได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ รางวัลรองชนะอันดับ 2 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทีม I’rice logistech (นวัตกรรมการบริการขนส่งข้าวไทย ) สมาชิกภายในทีม คือ 1.นายวชิรโชติ ชูตะกูล 2.นางสาวช่อผกา สอนทา 3.นายศุภวิชญ์ อินทนาคม 4.นายปวริศ พระปฐมนาวี 5.นายศุภฤกษ์ พรหมมารี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม อาจารย์ที่ปรึกษา 1.อาจารย์ ดร.โสภณ ผู้มีจรรยา 2.อาจารย์ ดร.ณัฐพงศ์ วงศ์พร้อมมูล 3.รองศาสตราจารย์ ดร.สุดา ตระการเถลิงศักดิ์   จัดโดย สำนักงานวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในระหว่างวันที่ 3-5 ตุลาคม 2562 ณ สามย่านมิตรทาวน์ กรุงเทพมหานคร